เกี่ยวกับโครงการ
 ก่อนมาเป็นโครงการ
 เจสวนหลวง
 สำนักงานช่วยเหลือประชาชน
 สินค้าที่ระลึก
 สินค้า
 ที่ระลึก
วันนี้ 186
เมื่อวาน 252
สัปดาห์นี้ 2,233
สัปดาห์ก่อน 2,308
เดือนนี้ 2,233
เดือนก่อน 13,040
ทั้งหมด 482,126
  Your IP :18.216.117.191
สูตรทั้งแปด
สูตรที่ 1 หนึ่งกับสิบอันไหนมีค่ามากกว่ากัน (อย่ายึดติด)
ถ้าเราบอกว่า สิบ มันมีค่ามากกว่า อาจารย์ถามว่าสิบมันมีเลข หนึ่ง กับเลข ศูนย์ ถ้าศูนย์ตัวเดียวเราบอกมีค่าหรือไม่ ไม่มีค่า แต่ศูนย์หลายตัวเราบางคนบอกมีค่า ถ้าเป็นอาจารย์จี้กงศูนย์คืออะไรไม่รู้จัก จะมีสิบศูนย์ก็ไม่รู้จัก นั่นคืออรหันต์
เราอย่ายึดติด เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นให้คิดว่ามันเป็นไปด้วยเหตุและผล เมื่อมีเหตุ เราก็ต้องรับผล เมื่อเหตุหมดผลก็ไม่มี ให้รู้จักศูนย์แต่ไม่ติดยึด ถ้าศูนย์ตัวนี้จะไปรวมกับอะไรมันจะมีค่ามากมาย เราเอาความพอดี สิบคือสิ่งที่มีค่าที่สุดของชีวิต
(เพิ่มเติมสูตรที่ 1)
ข้อนี้ หนึ่ง กับ สิบ ไม่เหมือนข้ออื่น สิบอันนี้คือค่าสูงสุดในชีวิตคือสำเร็จ(นั่นคล้าย) แต่หนึ่งในข้อนี้ไม่เหมือน ให้มองว่าเป็นอะไรหนึ่งอย่าง หนึ่งก้อน หนึ่งอะไรก็ได้ ให้เทียบแบบคุณค่าเป็นนับได้
แต่ หนึ่ง ในข้อนี้ไม่เหมือนกับข้ออื่น ที่ว่า
หนึ่งใน กายสังขารที่มีชีวิต กับหนึ่งใน กายละเอียด เพราะฉะนั้นในแต่ละสูตรมีความหมายต่างกัน ในแต่ละข้อต้องฟังความหมายในสูตรนั้นๆ อย่าเอาไปรวมกันนอกจากว่าจะความ
หมายเกี่ยวเนื่อง เพราะในข้อนี้ หนึ่ง กับ สิบ
สิบก็เป็นกี่ก้อน หรือสิบก้อน สิบอะไรก็ได้ที่มี
ค่า ในทำนองเดียวกันในข้อนี้ก็ สิบ ก็คือสูงสุดของชีวิต
เพราะฉะนั้นเวลานั่งต้องคิดว่า ที่อาจารย์หมายถึงสิบนี้กับสิบอันแรกมันไม่เหมือนกันนะ หนึ่งกับสิบนี้เขาให้นับว่า มีคุณค่าอะไรซักอย่าง แล้วถ้าสิบมันก็มากกว่าหนึ่ง แต่สิบที่สูงสุดในชีวิตมันนับไม่ได้ มันค่าสูงสุด เพราะฉะนั้นมันคนละตัว อาจารย์ถึงบอกห้ามเขียนเลขเข้าไป ให้เขียนเป็นอ่าน แล้วในแต่ละสูตรก็จะบอกความหมายนั้น ๆ
อย่างในสูตรนี้ก็อย่าติดยึด เมื่อไม่ติดยึดแล้วมันจะมีกี่ ศูนย์ ก็ไม่มีความหมาย เราไม่ติดยึดได้แค่ไหนก็คือแค่นั้น แต่ไม่ใช่อยู่เฉยๆ ต้องทำงานไปเรื่อย เพราะมันจะมีข้อหนึ่งคือความพอดี ความพอดีไม่ใช่อยู่เฉยๆ ความพอดีคือก็ต้องทำ แต่ทำแบบพอดี มันจะเกี่ยวเนื่องกัน เพราะฉะนั้นคนที่ตีค่าว่า ไม่ยึดติดคืออยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร...มันไม่ใช่ 
สูตรที่ 2 ห้าเอาออกบวกห้าเอาออกเท่ากับสิบ (ที่สุดของชีวิต)
ห้าแรก คือ ครึ่งหนึ่ง ครึ่งหนึ่งก็คือพอดีคล้ายกันในความพอดีของที่มีชีวิต บวกกับความพอดีในชีวิตนั้นนะ ครึ่งหนึ่ง คือ เราทำอะไรก็ได้อยู่ในครึ่งหนึ่ง ก็คือพอดีของมัน
ไม่มากไปไม่น้อยไปนั่นแหละเต็มที่แล้ว เต็มที่ข้างล่างคือสิบ
แล้วสิบก็คือ ครึ่งหนึ่ง คือ ห้า นั้นทำไมเอาออก เพราะในเต็มที่เราต้อง เอาออก คือเสียสละ ทำอะไรโดยไม่หวังผล ทำอะไรไม่คิดเข้าข้างตัว ทำอะไรเมตตาเป็นใหญ่ เรานั่งจุดกลางระหว่างคิ้วพิสูจน์ว่าเป็นของจริง เพื่อจะช่วยเหลือคนต่อไป ปล่อยวาง โลภ โกรธ หลงห้ามมีใช่หรือไม่ นั่นคือที่เรามีวิชีวิตอยู่นะ
ส่วน ห้า ตัวหลังที่ เอาออก นั่นคือความสงบเย็น ความสงบเย็นมันไม่มีอะไรอยู่ในใจเลย ที่โลภ โกรธ หลง ที่เราละคือละไม่เป็นไรคือละ แต่นี้คือความสงบเย็น บางทีเราละก็จริงแต่มันฝังอยู่ในใจเราอยู่ แต่ห้าที่เอาออกตัวหลังนี้มัน ไม่มีแล้ว ใครว่าคือรู้ว่าเขาโกรธแต่เราไม่โกรธตอบ มันจะเอาตรงห้าเอาออกบวกห้าเอาออกมารวมกันพอดีเป็นสิบ นั่นคือเต็มที่แล้วในข้อนี้ เราไปดูสูตรอื่นจะไม่มีพอดีกับสิบ บางสูตรรวมกันจะเกินสิบ บางสูตรกำลังจะได้สิบก็ไม่ได้ บางสูตรแทนที่จะก้าวหน้าก็ไปตีลังกา บางสูตรที่ว่าจะได้ของจริงก็ไม่ได้ กลายเป็นของปลอม
แต่ในสูตรที่ 2 นี้พอดีสิบ มันเอาทุกข้อมาแยกออก ในที่เรามีชีวิตกับความสงบเย็น ห้ามีอยู่นะ ถ้าเรามีอยู่นั่นคือเรายังครึ่งหนึ่ง แต่ในครึ่งหนึ่งมันไม่มีตัวตน ความพอดีมีตัวตน หรือไม่ ไม่มี เราวัดได้หรือไม่ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันไม่มีตัวตน
ถ้าเรามีบ้านหลังหนึ่ง เราบอกพอดี ก็พอดีในบ้านหลังหนึ่งเราบอกไม่พอดี มันก็ไม่พอดีมันถึงวัดไม่ได้ เพราะเราเองเป็นผู้กำหนด ตัวเองจะรู้ว่าพอแล้วแค่นี้ ถ้าเมื่อไหร่เรา พอแล้ว เราจะสบาย จำดีๆนะที่เรา พอแล้ว สบายแล้ว สบายทุกอย่างนั่นแหละความพอดี ถ้าอะไรที่เราไม่สบายความไม่พอดีก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ในแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน
ทำไมพระพุทธเจ้าตำแหน่งดี อยู่สูงสุด มีพร้อมทุกอย่างหาอะไรก็ได้ ยังไม่เอา อันนั้นไม่ใช่ความพอดี มันมากไป เยอะไป ต้องออก
ไปหาความพอดี แต่ในทำนองเดียวกันถามว่า ระหว่าง พระพุทธเจ้า กับ ขอทาน ขอทานยังมีเสื้อผ้า พระพุทธเจ้าที่เราไหว้อยู่ไม่มีเลยนะ คิดดูสมัยก่อนขอเขาบ้าง(ขอทาน)แต่ขอทานยังมีบ้างพระพุทธเจ้าต้องไปตรัสรู้หาเอง แต่ขอทานเมื่อไม่มีความพอดีขึ้นมาวุ่นวายแล้ว ไม่มีเงินจะกิน ต้องไปซื้อของกิน ไปหาอะไรเพิ่ม ขอทานไม่มีความพอดี แล้วคนรวยๆมีเงินเป็น สิบ ยี่สิบ สามสิบล้าน สมบัติแค่นี้ไม่พอมันต้องมีเยอะหน่อย อยากเทียบกับเขา เห็นเขารวยๆก็อยากจะ
หารวยๆยิ่งขึ้นไปอีก มันแปลก ไม่มีความพอดี เพราะฉะนั้นในความพอดี มันวัดไม่ได้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้คือความพอดี ฉะนั้นในความพอดี จะวัดง่ายๆ คือ อะไรที่สบาย ไม่เดือดร้อน ไม่วุ่นวายกับใคร เราสบาย นั่นคือความพอดีของเรา ณ. ตอนนั้นด้วยนะ ในความพอดีที่เราทำตลอดไปเรื่อยๆนั่นแหละเต็มสิบแล้ว
ฉะนั้นที่อาจารย์ถือไม้เท้าดำสอนสรุปรวมคือ?ห้า?ในความพอดีในที่เรามีชีวิต กับ?ห้า? ในความพอดีใจ จิตสงบ(กายละเอียดของเรา) เมื่อพอดีต่อพอดีเข้ามานั่นแหละ เต็มสิบแล้ว ความพอดีวัดด้วยตัวเอง เอาคนอื่นวัดไม่ได้ 
สูตรที่ 3 หนึ่งบวกเก้า เท่ากับ สิบเอ็ด (คิดเข้าข้างตัว)
ก้าว...มันไม่เหมือนที่เราคิดข้างล่าง ก้าว ไม่ใช่เลขเก้านะ ก้าว... คือความหมายที่ว่าเรา
ก้าวเดินไปเรื่อยๆ ก้าวนี้เรากำลังจะครบสิบพอดี แล้วไปบวกหนึ่ง ก็เลยเป็นสิบเอ็ด ทำให้เกินไปจึงตกนรก ถ้าขาดไปยังไม่ตกนรก แต่เมื่อเรา
รู้เยอะรู้จักเจ้าแม่กวนอิม รู้จักอาจารย์จี้กง แต่ไปเข้าข้างผิด หรือคิดเข้าข้างตัว ทำให้ตกนรก 
สูตรที่ 4 แปดบวกสอง เท่ากับ ห้า (ความพอดี)
อาจารย์เคยบอกว่าเลขแปด ข้างบนก็เยอะ ข้างล่าง ก็มีที่เป็น ตาๆ ขีดเล็กๆ ขีดๆเล็กๆ
เขาเรียกว่า ?โป๊ยข่วย? ข้างบนมีที่ดังๆ ที่รู้จักก็มี ?แปดเซียน? ข้างล่างรู้จักแปดเซียนเยอะเหมือนกับเลขแปดมี จุด อยู่จุดหนึ่งที่มัน ตัดกันจุดนี้แหละถ้าเขียนแล้วมันจะวนไป วนมาตลอด ถ้าเอาออกครึ่งหนึ่งที่มันตัดกัน มันแบ่งออกได้เป็นสองส่วนเท่ากันพอดี ณ.จุดตัดเลขสองคืออะไรพูดง่ายๆคือมีคู่ มีดำก็มีขาว มีเกิดก็มีตาย ตายก็คือดำ มันก็ตรงกับพวกที่กลมๆ แล้วมีขีดด้านหนึ่งดำ ด้านหนึ่งขาวของลัทธิเต๋า
ทุกอย่างมันมีคู่ ของที่มีคู่ บวก กับที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่เราแยกออก ทำไมอาจารย์บอกถึงเท่ากับห้า ห้าตัวนี้ต้องตีความหมายอย่าตีเป็นตัวเลข ห้าคือครึ่งหนึ่งของอะไรทุกอย่าง นั่นแหละความพอดี(รู้หรือยัง) ข้างบนไม่คิดแบบข้างล่าง ห้าก็คือความพอดีของครึ่งหนึ่ง ไม่มีชั่ว ไม่มีดี มีแต่กลางๆ เหมือนเลขแปดจะอยู่ข้างบน อยู่ข้างล่างเราต้องแยกออก จุดที่แยกออกคือ ความพอดี จะหันไปตรงไหน ถ้าเราแยกออก จะพบความพอดี เมื่อเราไม่มีความพอดีเข้าไป เลขแปดตรงที่ ตัดกัน มันก็เหมือนกับเอามา ติด
กัน มันถึงจับไม่ได้ โอ๊ย....บางทีดีจังเลย พอไม่เท่าไรส่วนที่ไม่ดีก็โผล่ออกมา นี่แหละ เหมือนเลขแปด คือไม่มีความพอดี ถามว่าคนที่ดีจริงๆ มีไหม มี...แต่ไม่เข้าใจ เหมือนกับเลขสองมีดำกับขาว ด้านขาวก็มีจุดดำที่เสียของเราด้านดำมันก็มีจุดขาวที่เป็นส่วนดีของเรา แต่เรานึกไม่ออก ที่ดำๆ แล้วมีจุดขาวๆเหลือน่ะ สำเร็จได้นะ แต่ที่ขาวๆ มีจุดดำๆตกนรกเลย เพราะฉะนั้นรู้หรือยังว่าทำไมดำถึงมีจุดหนึ่งวางไว้ ขาวก็มีจุดหนึ่งดำนั่นแหละ เขาเตือนเรา บางทีเราเห็นเขาแย่มากๆ มันยังมีของดีอยู่ เราก็จะได้คิดในแง่ดี แล้วที่ขาวชมเชยกันนักหนา มีดำนะแต่เรามองไม่เห็น นั่นคือ ความพอดี รู้แล้ววางเฉย อย่าไปหลงมันมาก
(เพิ่มเติมสูตรที่ 4)
ที่เขาว่าพอดี คือ มองแล้วจะเท่ากัน เท่ากันไม่ใช่เราไปทำอะไรที่ไม่มี ก็พยายามทำดีให้เท่ากับที่ไม่มี มันไม่ใช่ ที่บอกว่าทุกอย่างมันเท่ากัน หมายถึง เราเกิดมาก็ต้องตาย นั่นแหละทุกคนเท่ากันตัวนี้ เราต้องเจ็บปวด ต้องไม่สบาย ต้องเสื่อม ต้องแก่ นี่เท่ากัน อันนี้แหละคือความพอดี เราจะมีอะไร สบายแค่ไหน มันก็เท่ากันอยู่ตัวนี้ มันขึ้นอยู่ว่า ไปเร็ว ไปช้า ไปเร็วอาจจะดีก็ได้ ไปช้าก็ทำกรรมมากขึ้น แก่มากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น บางที
พอจะไปเร็วก็ว่ายังทำบุญไม่มาก นั่งสมาธิยังไม่รู้อะไรเยอะแยะ ที่ไปเร็วมันก็มีความพอดีในนั้นมันถึงเท่ากัน แล้วอาจารย์บอกว่าเวลาเรากิน ทำไมต้องกินของดีๆ ของไม่ดีกินได้หรือไม่ บอกไม่ได้ อาจารย์ถามว่าเวลาเราหิวมากๆ ของไม่ดีเราก็กิน เพราะมันไม่มีอะไรจะกิน มันเน่าก็ต้องกินเพราะมันหิวรู้ว่ากินลงไปแล้วแย่ ยังไงก็ต้องกิน ใช่หรือไม่ นั่นก็เท่ากัน มีความพอดี
เพราะฉะนั้นของอย่างหนึ่งมันมีความพอดีของมันอยู่ข้างใน แต่เรามองไปอีกอย่าง เรามองอย่างนี้ ไม่ได้มองอีกด้านหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาอาจารย์ถือไม้เท้าดำ ก็บอกแล้วว่าอาจารย์องค์นี้ด่าเก่ง แต่ที่ด่านั้นต้องการให้เราได้ดี แล้วที่ด่านี้จริงหรือไม่ เราต้องนึกต่อว่าที่เบื้องบนด่านี้มันมีเหตุมีผล ด่าไม่มีเหตุไม่มีผลไม่ได้ เราต้องคิดข้อนี้ แต่เวลาใครด่าเรา อาจารย์ขาวบอกว่าพวกเรา ชอบคิดเข้าข้างตัว ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ใช่ นั่นน่ะเหมือนกับที่สอน สิ่งที่มีความพอดี แต่เวลาเราเข้าข้างตัว มันไม่พอดีแล้ว มันไม่เท่ากันแล้ว ที่นี่อาจารย์ถือไม้เท้าดำ ท่านบอกว่า เวลาอาจารย์สอนท่านคิดไกลให้พวกเราแล้วอาจารย์ก็มาบอกให้ฟังอีกเที่ยวหนึ่ง 
สูตรที่ 5 เจ็ดบวกสอง เท่ากับ สาม (ได้ค้นพบ)
เจ็ด...นี่คืออะไรข้างล่างไม่ค่อยได้กล่าวถึง จะมีกล่าวถึงแปดเซียนกับที่เราไหว้พระพุทธเจ้ามีมรรคแปด และคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งสอนเรื่อง สังขาร ในสังขารมีที่รับรู้ 6 อย่าง คือ ดู...ใช้ตาดู ได้ยิน...ใช้หูฟัง ข้างล่างสอนที่รับรู้มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่รับรู้เข้ามาในจิตมี 6 อย่าง เพราะฉะนั้นถ้ามีหกแล้ว มีอีกอย่างก็เป็นเจ็ดอย่าง อีกอย่างหนึ่งที่เป็นอย่างที่เจ็ด เปรียบเหมือนกับกายที่รับรู้สัมผัสตรงนี้ จะมีจุดกลางระหว่างคิ้วอยู่ จุดหนึ่งซึ่งรับรู้ทุกอย่าง
ส่วนสองในสูตรที่ 4 กับสองในสูตรที่ 5 นี้คนละอย่างกัน เพราะสองในสูตรที่ 5 นี้ อาจารย์จะเปรียบเหมือนทุกอย่างมันมีคู่ มันใช้กับโกรธไม่โกรธ โลภกับไม่โลภ หลงกับไม่หลง มันต่างกับสองในสูตรที่ 4 ที่อาจารย์พูดว่า ในด้านดำยังมีจุดขาวอยู่จุดหนึ่ง ในด้านขาวก็มีจุดดำอยู่จุดหนึ่งมันเป็นคู่เหมือนกัน แต่คู่ของเจ็ดบวกสองเท่ากับสาม อาจารย์จะพูดถึงกายสังขาร ที่รับรู้แล้วจาก ตา หู สมูก ลิ้น กาย ใจ โกรธ...ไม่โกรธ โลภ...ไม่โลภ หลง...ไม่หลง มีวิธีแก้โกรธก็เมตตา หรือยกโทษให้
สองในสูตรนี้ อาจารย์จะพูดถึงเกี่ยวกับกายสังขารที่ว่าจริงๆ ในสองที่เป็นคู่กันนั้นไม่ว่าโกรธ...ไม่โกรธ โลภ...ไม่โลภ หลง...ไม่หลง จะมีอยู่ตัวหนึ่งคือ ?ไม่รับรู้? ไม่ได้กล่าวถึงเหมือนกับที่เลขเจ็ดมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หกอย่างจะมีอยู่ จุดกลางระหว่างคิ้วตัวนี้ที่ไม่กล่าวถึงก็มาเท่ากับสาม สาม...คือในอันกลางถ้าเกิดใครค้นพบมันมีอยู่ใน จะแสดงผลออกมาในสาม เพราะฉะนั้น เมื่อนั่งในจุดกลางระหว่างคิ้วตัวนี้ เราเห็นออกมามันจะเท่ากับ สาม ที่เท่ากับสาม คือว่าเราเจอแล้ว สาม...คือเรารู้แจ้งแล้วว่า ในสองสิ่งนั้นมีสิ่งหนึ่งโผล่ออกมา 
สูตรที่ 6 ก้าวบวกก้าว เท่ากับ หก (ให้มีสติ)
ก้าว ตัวแรก คือก้าว ทางกายสังขาร ทุกอย่างที่เราก้าวไป มันจะรวมหมดเกี่ยวกับกายสังขารที่เราต้องทำ เพราะจุดกลางระหว่างคิ้ว ถ้า ในกายสังขารเราแย่ๆ มันก็ไม่ไหว เหมือนกับข้างล่างที่สอนว่า ก่อนที่เรามานั่ง ต้องอาบน้ำ ต้องกินข้าว ต้องทำอะไรหลายๆอย่าง คือเตรียมความพร้อมในกายสังขารก่อน ลองเราหิวเรานั่งไม่ไหวหรอก ลองเราเจ็บป่วยไม่สบาย ก็นั่งไม่ไหว ก้าว...ตัวหลังคือ ก้าวเรื่องจิตใจ มันต้องไปพร้อมกัน ก้าวในจิตใจที่อาจารย์ขาวสอนว่า เราต้องสงบเย็นที่จิต ต้องรู้จิตคนอื่น ต้องรู้มากขึ้น ถ้าเราสงบเย็นมากเท่าไรเราก็รู้ความคิดคนอื่นมากเท่านั้น เราจะหาวิธีแก้ได้มากขึ้น นั่นแหละคือ ก้าวตัวที่สอง ต้องไปพร้อมกันกับก้าวตัวแรก ในสูตรที่ 6 นี้อาจารย์บอกว่าเท่ากับหก แต่อาจารย์ดึงไว้ก่อน จริงๆ แล้วถ้าเราไปสองอย่างพร้อมกันมันดี
แต่ว่าเท่ากับ หก มันกำลังดีดี อาจารย์ก็เปรียบเหมือนว่าตัวหกนี่ บางทีมีเวรกรรมของเราเข้ามาเกี่ยว มีหนี้เวรกรรมเข้ามาทวงมาเกี่ยว ถ้าเราหกไปเนี่ย ต้องหาอะไรดึงไว้ให้เรามีสติ ดึงไว้ว่าเราโดนทดสอบนะ โดนอะไรหลายๆ อย่างให้มีสติรู้ ก็เหมือนกับเรากำลังก้าวหน้าเหมือนกัน มันไม่ใช่เลขหกนะ มันคือก้าวกลับหลัง เพราะเราไม่รู้ว่า ในการทดสอบ เวรกรรมทดสอบ หนี้เวรกรรมก็ทดสอบ เยอะแยะๆ ทำให้วุ่นวายใจ...นั่นแหละเรากำลังล้ม แต่ล้มแล้วยังมีสติรู้ อาจารย์ถึงบอกว่าเรามีอะไรดึงไว้นะ ให้รู้ว่าเราถูกทดสอบอยู่ เรามีสติให้ตั้งตัวได้ก็เปรียบเหมือนเรายังก้าวหน้าเหมือนกัน แต่มันไม่เร็ว มันช้ากว่ากันหน่อย เพราะว่ามันมีตัวหนี้(เวรกรรมมาดึง) หนี้อย่างอื่นเยอะแยะมาดึง กิเลสดึงให้เราล้มได้ เพราะฉะนั้นตัวหกก็คือมันล้มแล้วยังมี ?สติ? รู้ ก็เหมือนเรากำลังก้าวหน้าเหมือนกันแต่ ช้าหน่อย และคำว่ามีสตินั้น ต้องรู้ทันอย่าง ?มีเหตุมีผล?ด้วย 
สูตรที่ 7 ก้าวบวกก้าว เท่ากับ ก้าว ไม่เหมือน ก้าวบวกศูนย์ เท่ากับ เก้า (ของจริงย่อมไม่เหมือนของปลอม)
ก้าว ตัวนี้เหมือนกับสูตรที่ 6 ความก้าว
หน้าทางกายสังขาร บวกกับความก้าวหน้าในจิต ในจิตคือความสงบเย็นที่จิต เราต้องสงบเย็นที่จิตจึงจะก้าวหน้า เอาตามข้างล่าง เมื่อเรายังไม่สำเร็จ เรียกว่าก้าวหน้าทางกายละเอียด สังขารละเอียดก็คือจิตวิญญาณ ซึ่งมีกายสังขารกับกายละเอียดก้าวหน้าไปพร้อมกันเท่ากับ ก้าว นั่นคือเราก้าวหน้าทั้งสองอย่างใกล้จะสำเร็จ
ที่อาจารย์ทำไมไม่บอกสิบ สงสัยหรือไม่เพราะว่า ในก้าวหน้าทั้งสองอย่าง ก้าวที่เป็นกายสังขาร ก้าวที่เป็นจิตละเอียด มันก็สมบูรณ์อยู่กายสังขารที่เต็มที่มันก็กำลังจะเป็นสิบ กายละเอียดก็กำลังจะเป็นสิบ เพราะฉะนั้นมันก็เท่ากับสิบ แต่ว่าที่อาจารย์บอกว่ามันไม่เท่ากับสิบเลย เพราะเรายังก้าวอยู่
แล้วบอกว่าไม่เหมือน ก้าว บวก ศูนย์เท่ากับ ก้าว (เพราะก้าวบวกศูนย์) เราจะเป็น
กายสังขาร ที่ก้าวหน้าหรือ กายละเอียด ที่ก้าวหน้า หรือมี จิตสงบเย็นที่จิต ตัวใดตัวหนึ่งมันไม่สมบูรณ์ (บวกกับศูนย์) เราบวกอะไรมันก็ไม่สมบูรณ์ เราจะเป็นกายสังขารที่สมบูรณ์ แต่กายละเอียดไม่มี มันก็เท่ากับสิบไม่ได้ ก้าวตัวหลังที่ว่าเราเป็นก้าวที่จะเป็น?สิ่งศักดิ์สิทธิ์?ไม่ได้ (มันยังขาด) ในก้าวบวกศูนย์นี่มันไม่ใช่ว่างเปล่า ไม่ใช่ ละแล้ว ศูนย์ตัวนี้คือ?ขาดไป? ศูนย์โน่นศูนย์นี่ ?ศูนย์? ในแต่ละสูตรนั้นมีความหมายต่างกันต้องเข้าใจ อย่าคิดเป็นตัวเลข เรายังขาดกายละเอียด หรือขาดกายสังขารมันก็ลำบาก ไม่มีกายสังขารที่จะทำมันก็ลำบาก มันจึงไม่สมบูรณ์ มันไม่เหมือนกับก้าวที่จะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ดังนั้นของจริงกับ ของปลอมต้องดูให้ออก ของจริงจะสมบูรณ์ได้ต้องมี กายสังขารและกายละเอียด ส่วนของปลอมมีแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พอ!มันต้องไปด้วยกันทั้งสองอย่าง ทุกวันนี้ส่วนมากจะเจอของปลอม ของปลอมที่เห็นว่าละเอียด มันคือศูนย์ มันไม่มีความก้าวหน้าที่จะก้าวไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะครบสิบ 
สูตรที่ 8 หนึ่งบวกหนึ่ง เท่ากับ ศูนย์ (สิ่งศักดิ์สิทธิ์)
หนึ่ง...คือกายสังขาร อีกหนึ่ง...คือกายละเอียดที่เป็น หนึ่ง รวมกันถ้าไม่มี กายสังขารไม่มี กายละเอียด ก็คือ?ว่างเปล่า?ฉะนั้น เบื้องบน ไม่มีกายสังขาร ไม่มีกายละเอียด
แล้วว่างเปล่ามันคืออะไร ทุกๆสูตรสุดท้ายก็มาลงที่สูตรที่ 8 คือ หนึ่งบวกหนึ่ง เท่ากับ ?ศูนย์?จะสำเร็จได้ต้องมี กายสังขาร กับ กายละเอียด จึงกลับไปสู่เบื้องบนที่ ว่างเปล่า หนึ่ง คือกายสังขาร หนึ่งอะไรก็ได้อาจจะเป็นจุดหนึ่งในจุดกลางระหว่างคิ้วใน กายสังขาร ซึ่งก็คือจุดกลางระหว่างคิ้วใน กายละเอียด นั่นแหละ ต้องสัมพันธ์กันจึงจะเห็น?จุดกลางระหว่างคิ้ว? นี่คือ สูตรที่ 8 ที่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน
ทุกพระองค์ต้องเข้าใจสูตรนี้อย่างถ่องแท้
(เพิ่มเติมสูตรที่ 8)
ถ้า หนึ่งกายสังขาร กับ หนึ่งกายละเอียด มันรวมกันเป็นหนึ่งเดียวหรือ เท่ากับ ?ศูนย์? นั่นคือสูตรที่ 8 แต่เวลาที่เป็นเลขสิบเอ็ด ซึ่งคือ หนึ่งสองตัวตามข้างล่าง หมายถึงว่า กายกับจิตมันไม่รวมกัน เมื่อไม่รวมกันแล้ว เวลาจะเห็นอะไรชัดๆมันไม่ได้ ต้องรวมกัน แล้วที่รวมกันต้องเอา จิตสงบ เป็นตัวนำ คือตัวนี้กายที่ละเอียด จะรู้เรื่องมาก มันจะรวมกันตรงจิตที่สงบเย็น มันจะรวมกันตรงจุดนี้ คือเข้ากันในจุดนี้ แต่ยังไม่เห็นแจ้ง โดยเอาจิตที่สงบเย็นเป็นตัววัด ที่เราจะนำไปดูของละเอียด ว่าในจุดกลางระหว่างคิ้วนี่มันเป็นหนทางเวลาตายขึ้นมา พูดง่ายๆก็คือ กายละเอียดจะออกจาก กายสังขารของเราที่ยังมีชีวิต ต้องกิน ต้องทำอะไรของมันอยู่ข้างล่างถึง
เวลาที่เราต้องออกไปแล้ว ต้องออกจาก?จุดกลางระหว่างคิ้ว? แล้วทำไมต้องมีคำถาม ว่าใน
ช่วงที่เรากำลังจะออกจะรู้ตัวหรือไม่ นั่นแหละ
รู้ไม่รู้ตัวเอาตัววัดคือเรานั่งถี่ให้มาก เพราะ ฉะนั้น เรานั่งถี่ลงในจุดกลางระหว่างคิ้วจะตายหรือไม่ตายจิตเราก็อยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่า เอ๊ะ! แล้วเวลาเราจะตายแล้วมันจะออกจากจุดนี้? ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะถ้าเกิดเรานั่งถี่แล้ว จิตเราก็อยู่ตรง จุดกลางระหว่างคิ้วก็เหมือนกับ เราทำถี่ตรงจุดกลางระหว่างคิ้วก็เหมือนกับเราทำถี่จนเรา ?รู้ตัว? จิตมันต้องออกจากจุดนี้แล้ว เพราะฉะนั้นจะ
ตายด้วยวิธีใดไม่ว่าจะนั่งตาย เดินตาย โดนยิงตาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะจิตเราอยู่ตรงจุดกลางระหว่างคิ้วตัวนี้แล้ว เพราะฉะนั้นมีจุดหนึ่งคือ พยายามทำให้
ถี่มาก อาจารย์ขาวจึงบอกว่า ว่างก็ทำไม่ว่างก็ทำ หาวิธีการคิดเอาเวลาสบายๆมานั่งทำให้ถี่ พอทำถี่แล้วพอทำๆไปตัวนี้จะบอกเราเองว่า ถึงเวลามานั่ง จุดกลางระหว่างคิ้ว
แต่ทำไม? ตัวจิตถึงบอกว่าให้เรามา?นั่ง? ตรงจุดกลางระหว่างคิ้ว คือว่ามันจะบอกว่ามันสบาย เพราะเรานั่งแล้วมันสบายและเมื่อสบายทุกอย่างเราก็ไม่อยากไปโน่นไปนี่ อยากจะนั่งอยู่ตรงนี้ ที่มันสบาย มันจะตัดเกือบทุกอย่าง เพราะมันจะติดรู้ มันโล่ง มันสบาย พูดง่ายๆว่า คนนั่ง นั่งแล้วตรงจิต สงบเย็นที่จิต แล้วอยู่ในจุดกลางระหว่างคิ้วจะสบาย บอกใครก็ยาก แต่เจอเองแล้วเหมือนกับติดไปเลย แต่ติดแบบนี้ดีนะเพราะมันจะถี่มากขึ้น
เพราะฉะนั้นในข้อนี้ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับศูนย์ คือว่าเราจะเอากายที่มีชีวิตอยู่ บวกกับกายละเอียดเข้าไปนั่นแหละ อยู่ในจุดกลางระหว่างคิ้วตัวศูนย์นี้คือ มันไม่มีอะไรแล้ว คำว่าไม่มีอะไรมันไม่ใช่เกี่ยวกับข้างบน คือมันไม่มีอะไรอยู่ข้างล่างแล้ว ขึ้นไปแล้ว
เพราะฉะนั้น ถ้ายังมีอะไรอยู่ข้างล่างมันก็ต้องมาเกิดอีก เจอโน่น เจอนี่ เจอสารพัดเรื่อง มันวุ่นวาย เกิดมามีแต่ความวุ่นวาย บางอย่างไม่อยากทำก็ต้องทำหรือ บางทีอยากทำไม่ได้ทำมันวุ่นวายมันมีเหตุที่ต้องมาเกิด ถ้าว่าเกิดแล้วมันวุ่นวายทั้งนั้น ถามว่าแล้วองค์สูงๆมารับหน้าหน้าที่ก็วุ่นวาย ไม่ใช่ไม่วุ่นวาย เพราะฉะนั้นทุกองค์ไม่ว่าเจ้าแม่กวนอิม หรือองค์ใดๆที่เกิดมาทดสอบเกิดมาก็ต้องวุ่นวาย แต่เมื่อวุ่นวายแล้วนี่อย่าไปติด เมื่อเกิดมาแล้วมันก็มีสิ่งมีชีวิตกับที่มีกาย เราให้มันมีศูนย์ขึ้นไป เข้าใจหรือไม่ มันต่างกันตรงที่ว่า องค์ที่สูงๆท่านสร้างมานาน ถึงจะวุ่นวายก็นิดหน่อย แต่ของเรามันวุ่นวายทั้งวันเยอะแยะมันเทียบกันไม่ได้อยู่ตรงนี้
เพราะฉะนั้นตัวสำเร็จก็คือในสูตรที่ 8 เอาตัวนี้ให้กลับขึ้นไป หมด ความว่างเปล่า ศูนย์ก็คือมันว่างเปล่าหมดแล้ว กรรมก็หมดแล้ว อะไรก็หมดแล้ว สังขารก็หมดแล้ว กายละเอียดก็หมด
แล้ว เพราะเรานั่งในจุดกลางระหว่างคิ้วขึ้นไปแล้วมันเลยศูนย์หมดว่างเปล่าหมด ไม่ว่ามีอะไรที่อยู่ข้างล่าง ศูนย์ตัวนี้คือ อยู่ข้างล่าง มันไม่เกี่ยวกับข้างบนนะ ข้างบนนี่ต่างหาก
เหมือนกับอาจารย์วุ่นวายหรือไม่ ไม่มีความรู้สึก เพราะฉะนั้นอาจารย์ที่สอนทุกองค์ เวลาลงมาทำไมด่าเป็น ที่ด่าเป็นเพราะเอาจิตของเรามาด่า จิตละเอียดก็เอาจิตของเราที่ละเอียดมาสอนพวกเรา ทำไมคนนั้นเป็นแบบนี้ก็เอาจิตของพวกเรามาสอน เพราะข้างบนแล้วอาจารย์ไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเหลือ แล้วที่รู้ก็คือ เอาจิตของเรามาดู ทำไมพักนี้ที่นี่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ เห็นเบื้องบนเป็นเพื่อนเล่น แต่ถ้าไปถามพวกสามตะเกียงถ้ารู้ว่าเป็นอาจารย์เป็นเพื่อนเล่นไม่ได้ เพราะสูงกว่าสามองค์ ถามว่าถือหรือไม่ ไม่ถือ มันเป็นเรื่องของแต่ละที่ แต่ถามว่า สอนเท่ากันหรือไม่ ?
สอนแต่ความยากง่ายไม่เท่ากันแล้วแต่ตอนนั้นถ้าที่นี่ละเอียดอาจารย์ก็สอนละเอียด
อย่างมีแปดสูตรที่อาจารย์มาสอน หมายความว่าพวกเราสงบมากขึ้น เพราะฉะนั้นในแปดสูตร ก็คือสร้างปัญญาให้เรา เพราะฉะนั้นให้ภูมิใจ อาจารย์ฟ้ามาแรกๆ ท่านบอกว่าได้แค่นี้ก็ยังภูมิใจให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ถึงมีเลขเก้าให้ก้าวหน้า เมื่อเบื้องบนให้สูตรมาแล้วพยามนั่งแล้วพิจารณา ต้องคิดว่าเราจะกลับไปสู่เบื้องบน ไม่โง่ ข้างบนไม่โง่นะ เดี๋ยวกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์โง่ๆ เรา(คือ) ฝึกปัญญาไว้
1. พยายามรู้เท่าทันเบื้องบนว่า เบื้องบนให้ทำอย่างนี้ มันก็คืออะไร ต้องตีให้ออก
2. เราฝึกปัญญานี้ เวลาเราดูคนอื่นหมายความว่าปัญญาเรามากกว่าเขา เราก็สอนเขาได้สบายใจ แล้วมีความศรัทธาด้วย
3. พิสูจน์ตัวเองในสูตรทั้ง 8 สูตร ว่ามันแก้ทุกข์ข้างล่างได้จริง มันไปได้จริง รู้เยอะแล้ว ให้สร้างปัญญาด้วยตัวเอง บอกหมดไม่ได้ บอกหมดมันเหลือเชื่อบอกคร่าวๆ ได้ แต่ต้องไปคิดต่อ สร้างเองคิดเองต่อ แล้วอันไหน งง สงสัย ไม่รู้ ถามอย่าคิดเอง อาจารย์หลายองค์บอกว่า ห้ามคิดเข้าข้างตัวเอง เพราะถ้าเราคิดเข้าข้างตัวเองแล้วเราไปเลย เพราะในจุดกลางระหว่างคิ้วเรายังไม่ได้ ห้ามคิดเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด 
 
 
Copyright © 2013-2015 โครงการพี่คนโตช่วยน้องคนเล็ก ในมูลนิธิฟ้าประทาน(เทียนสื่อ) All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus